วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วิธีการผสมปูนปลาสเตอร์แบบไม่ต้องใช้การตวง

วิธีการผสมปูนปลาสเตอร์แบบไม่ต้องใช้การตวง อย่างที่เคยเล่าให้ฟังว่าปูนปลาสเตอร์นั้นเมื่อผสมน้ำ จะมีเวลาสั้นๆ สำหรับกวนให้เข้ากันดีก่อนที่ปูนจะเซ็ทตัวแข็ง

บางคนอาจจะขี้เกียจตวงชั่ง หรือขาดอุปกรณ์ ก็มีอีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้การผสมปูนปลาสเตอร์สะดวกและได้สัดส่วนที่เหมาะสมเช่นกัน

วิธีการก็คือ ตักปูนปลาสเตอร์ในปริมาณที่เราต้องการ และทำการเทน้ำลงไปให้ท่วมปูนรอสักพัก น้ำจะแทรกลงไปในปูนและมีน้ำบางส่วนแยกออกมานั้นคือน้ำส่วนเกิน เข้าใจว่าอย่างนั้นน่ะ เราก็ทำการเทน้ำส่วนนั้นออก แล้วกวนให้มันเข้ากันก่อนเทลงไปในตัวเบ้าหล่อแม่พิมพ์ หรือตัวแม่พิมพ์ที่เราต้องการสร้างชิ้นงาน


กับอีก หนึ่งวิธีที่เคยแนะนำไปแล้ว ก็คือการตวงปูนปลาสเตอร์กับน้ำในอัตราส่วนที่แน่นอนตามนี้

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วิธีการใช้ปูนปลาสเตอร์สร้างแม่พิมพ์ และทำตัวชิ้นงาน

ปูนปลาสเตอร์นั้นคือ แร่ยิปซั่มที่นำมาเผาที่อุณหภูมิประมาณ 150 องศาเซลเซียสเพื่อเอาน้ำออก เมื่อเราเอามาใช้ก็แค่เติมน้ำกลับไป ปูนจะทำการจับกับน้ำ โดยมีจุดเซ็ตตัวในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้นเอง

วิธีการสร้างแม่พิมพ์จากปูนปลาสเตอร์ การเริ่มต้นก็จะเหมือนกับการสร้างแม่พิมพ์จากซิลิโคน (ใครที่ยังไม่ได้อ่านกลับไปอ่านได้นะ)

เมื่อเตรียมเรียบร้อยแล้ว ก็มาเตรียมปูนปลาสเตอร์กันเลย

อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการผสมปูนปลาสเตอร์
1 ปูนปลาสเตอร์
อุปกรณ์

2 น้ำ
3 ถ้วยตวง
4 แท่งคน ใช้อะไรก็ได้ อาจเป็นช้อน ตะเกียบ etc

หลังจากนั้นก็มาเริ่มทำการหาปริมาณปูนปลาสเตอร์ที่เราต้องการจะใช้
เราจะใช้วิธีการเทน้ำลงไปในตัวล้อม แล้วจับแบบวางลงไปเติมน้ำให้ได้ระดับที่ต้องการ แล้วเทน้ำลงบนถ้วยตวงก็จะได้ปริมาณปูนปลาสเตอร์ที่เราต้องการเทลงในแบบแล้ว

วิธีการผสมปูนปลาสเตอร์ นั้นใช้อัตราส่วน ปูน: น้ำ 1:3/4
เมื่อตวงปูนใส่ถ้วยและเทน้ำลงไปแล้วให้ทำการกวนสุดเร็วๆ จะสังเกตว่าภาชนะที่ใส่ปูนจะอุ่น เนื่องจากปูนกำลังทำปฏิกริยาเคมีกับน้ำนั่นเอง แอบวิชาการนิดส์น่ะ

แล้วที่นี้ถ้าบางคนใส่น้ำมากเกินไปละจะเป็นอะไรไหม?
ไม่เป็นอะไรน่ะ เพราะการจับตัวของยิปซั่มกับน้ำนั่นจะอยู่ในอัตราส่วนที่แน่นอน น้ำส่วนเกินจะฉ่ำๆ อยู่ที่ส่วนผิวหน้าเวลาเราเทปูนใส่ตัวล้อมแล้วเท่านั้นเอง ส่วนใครที่ไม่อยากรอน้ำระเหยก็สามารถเอาทิชชูมาซับลงบนน้ำได้ อย่าให้ถูกผิวชิ้นงานน่ะ เดี๋ยวไม่สวย แต่ถ้าไม่รีบแนะนำว่าปล่อยให้มันแห้งเองจะงามกว่า

ปล. สิ่งที่ต้องระวัง
1ฟองอากาศมากถ้ากวนช้า
2.ระยะเซ็ตตัว (สั้น)


ส่วนการใช้ปูนปลาสเตอร์ทำชิ้นงานก็ใช้วิธีเดียวกัน
แล้วนำไปเทใส่แม่พิมพ์ ระยะเวลาที่รอขึ้นอยู่กับขนาดชิ้นงาน แต่เร็วกว่าซิลิโคน


แบบนี้ก็ใส่ไปประมาณ 3 นาทีแกะออกมาได้อย่างที่เห็นค่ะ






การสร้างแม่พิมพ์จากซิลิโคน

การสร้างแม่พิมพ์หรือโมว์  ถือว่าเป็นหัวใจหลักของการสร้างตุ๊กตา หรือชิ้นงานต่างๆ ที่เราต้องการซึ่งใน Blog เด็กเล่นแป้งนี้เราจะมาทำการสร้างแม่พิมพ์จากซิลิโคนกัน โดยวิธีการนี้จะเป็นการสร้างพิมพ์หน้าเดียวก่อน

อุปกรณ์ที่เราจะใช้กัน มีดังนี้

1.ซิลิโคน และตัวช่วยทำให้ซิลิโคนแข็งหรือเรียกว่า Hardener ในที่ร้านจะขายมาคู่กันในอัตราส่วนที่เป็นสัดส่วนกัน
2.ถ้วยและแท่งสำหรับคนให้ซิลิโคนกับ Hardener เข้ากัน
3.บล๊อกสำหรับหล่อแม่พิมพ์
4.ตัวต้นแบบที่เราต้องการจะสร้าง
5.วาสลีน และภู่กัน

เมื่อได้อุปกรณ์มาครบแล้วสิ่งที่เราจะต้องทำในขั้นต่อไปก็คือการสร้างบล๊อกสำหรับหล่อตัวชิ้นงานของเรา

+ วัสดุที่เราจะนำมาใช้เป็นบล๊อกก็อยู่รอบๆ ตัวเรานั้นแหละ หันซ้ายแลขวา อาจมากล่องขนม กล่องใส่อาหาร วัสดุที่มีรูปทรงพอดีกลับตัวชิ้นงาน แต่ถ้าหาไม่ได้หรือวัสดุมีรูปร่างที่เฉพาะ ซึ่งจะง่ายและสะดวกกว่าในการสร้างบล๊อกขึ้นมาเอง ก็สามารถทำได้

เราใช้วิธีการสร้างบล๊อกขึ้นมาด้วยการนำวัสดุหลายๆ อย่างมาประกอบกัน





ตามรูปซ้าย จะสร้างให้บล๊อกหรือตัวล้อมมีขนาดใหญ่กว่าสัก 1 หรือ 2 cm. และวัสดุที่ใช้ในภาพแรกก็คือแผ่นพลาสติกตัวให้มีความสูงมากกว่าแบบเล็กน้อยปิดรอยต่อด้วยเทปกระดาษสีฟ้า แและวางลงบนวัสดุุแผ่นเรียบ ในรูปเราวางลงบนกล่องพลาสติก ถามว่าทำไมไม่ใช้บล๊อกเป็นกล่องพลาสติกเสียเลย

เนื่องจากซิลิโคนมีราคาแพงน่ะ ก็เลยขอสร้างตัวล้อมให้พอเหมาะจะได้ไม่ต้องใช้ซิลิโคนมากๆ

รูปกลาง ก็เอาแบบใส่เป็นรอยตีนไดโนเสาร์เสร็แล้วก็ล้อม แล้วนำแป้งที่เราผสมสำหรับเตรียมทำชิ้นงานมาอัดลงไปให้พื้นที่ด้านข้างมีระดับความสูงเท่ากับตัวแบบ เพื่อให้โมว์ออกมาเป็นสีเหลี่ยม

รูปขวาสุด ใช้เทปดำมาช่วยให้พื้นผิวข้างล่างเรียบขึ้น อาจจะช่วยได้ไม่มากเท่าไหร่ แต่ที่ทำแบบนี้จริงๆ แล้วก็เพราะกล่องพลาสติกมันมีรอยฉีกขาดก็เลยเอาเทปดำมายึดไว้ทั้งอันเลย

ส่วนใครที่เลือกจะใช้ดินน้ำมันก็ปั้นเป็นแผ่นแบนๆ แล้วล้อมบนวัสดุที่มีผิวเรียบ และอย่าลืมเว้นให้มีระยะจากวงล้อมถึงตัวหุ่นชิ้นงานสัก 1- 2 cm ตามวิจารณญานด้วย

++ เมื่อสร้างบล๊อกหรือวงล้อมเรียบร้อยแล้วก็มาจัดการกับตัว หุ่นต้นแบบของเรา โดนเอาวาสลีนทาลงไปบบนตัวหุ่น หากเป็นหุ่นที่มีรายละเอียดแบบของเราก็ระวังอย่าทาหนามา เพราะวาสลีนอาจจะไปอุดตันทำให้เห็นลายไม่ชัดเจนเหมือนต้นแบบได้


เสร็จแล้วนำแบบไปวางลงในวงล้อมให้พร้อมที่จะเทซิลิโคนลงไป

 +++ มาถึงคิวของซิลิโคนกันบ้าง ซิลิโคนที่ซื้อมาจะไม่แข็งตัวหากไม่ได้ทำการผสมตัวเร่งลงไป โดยปริมาณของตัวเร่งที่จะใส่ลงไปจะเป็น 1:3 คือ ตัวเร่ง 1 ส่วน ต่อ ซิลิโคน 3 ส่วน



เราทำสเกลแปะไว้ทั้งสองกระป๋องเลย ที่นี้พอเราเทซิลิโคนออกมาใส่ถ้วยตามที่เราต้องการแล้ว ก็ดูว่ามันเหลือแค่ไหน แล้วก็เทตัวเร่งออกมาให้เหลือเท่าๆ กันกับซิลิโคน เมื่อเทตัวเร่งลงในซิลิโคนแล้วต้องกวนเร็วๆ ให้ทั่ว เมื่อมันเข้ากันดีแล้วก็เทลงไปบนตัวแบบที่เราล้อมไว้แล้ว

ปล. ถ้าเรากวนนานไปซิลิโคนจะหนืดและไหลยาก เพราะมันกำลังจะแข็งตัวแล้ว เพราะฉะนั้นมือใหม่อย่างเราต้องระวังนิดส์นึง



เมื่อเทลงไปแล้วจะได้แบบนี้ ใครที่อยากประหยัดซิลิโคนก็เทบาง หรือใช้ภู่กันทางให้ทั่วแบบแล้วเอาปูนปลาสเตอร์ผสมน้ำเทลงทับลงไปได้อ่ะ

ส่วนเราทำแบบนี้เพราะต้องนำไปใช้งานค่อนข้างสมบุกสมบัน และเคยหล่อปูนปลาสเตอร์ปิดทับปรากฏว่าหลังใช้งานตัวปูนปลาสเตอร์แตก หรือบางคนไม่ทราบว่ามันใช้คู่กันก็เกิดปัญหาในการหล่องาน เลยเอาแบบนี้ดีกว่า เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลามาหล่อปูนปลาสเตอร์ซ้ำ และสะดวกต่อการนำไปใช้งานด้วย


ทิ้งเอาไว้ 8- 10  ชม. ซิลิโคนก็จะแห้ง และแกะออกมาจากแบบได้เป็นแบบนี้ แต่ในบางทีถ้าคนซิลิโคนไม่ทั่วถึงบางจุดจุดนั้นๆก็จะไม่แข็งตัวซึ่งก็ต้องระวังไว้ด้วยในจุดนี้